จิ๊กกี้

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แบคที่เรียก่อโรคในอาหาร















ในปัจจุบัน ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจ และวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนผู้บริโภคต้องใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านมากขึ้น หลายคน หลายครอบครัวมีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาหารนอกบ้าน ประเทศไทยเองด้วยพื้นฐานของการเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงการเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมากในลำดับต้นๆ ของโลก แต่ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบอย่างมาก คือ การที่อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมีการปนเปื้อนของเชื้อต่างๆ หรือเน่าเสีย ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้บริโภคที่ต้องรับประทานอาหารนอกบ้านทุกวันแล้ว ต่อภาคเศรษฐกิจ การส่งออกอาหาร ก็กระทบและสูญเสียเงินเป็นมูลค่าหลายล้านบาทต่อปี
จากการศึกษาพบว่า ปัญหาเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อในอาหาร หรือการที่อาหารเน่าเสียนั้น มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีคนจำนวนสิบถึงยี่สิบล้านคนนี้เสียชีวิตจากแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ นอกจากนี้แบคทีเรียก่อโรคที่อยู่ในน้ำยังก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตมากกว่าสองร้อยล้านคนต่อปี เดิมการตรวจสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์จะใช้เวลาประมาณสองวัน เพื่อการเตรียมตัวอย่างและการวิเคราะห์ทางชีวเคมี แต่ในปัจจุบันการผลิตในระดับอุตสาหกรรมนั้นมีความรวดเร็ว และต้องการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่ง ดร. กมลวรรณ ธรรมเจริญ นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ศึกษาวิจัยการใช้อนุภาคนาโนกึ่งตัวนำในการตรวจหาแบคทีเรียแบบรวดเร็ว ที่สามารถแสดงผลการตรวจวัดจุลินทรีย์ได้อย่างรวดเร็ว โดยอนุภาคนาโนกึ่งตัวนำที่ใช้ในการศึกษา คือควอนตัมดอต หรือหมุดควอนตัม (กลุ่มของผลึกขนาดนาโนเมตร) ซึ่งเป็นอนุภาค อนินทรีย์ระดับนาโนที่สามารถให้แสงฟลูออเรสเซนต์ได้ (nanophosphor) โดยสารที่ได้มาจะเป็นสารสกัดจากสิ่งมีชีวิต และเป็นสารที่มีความเสถียรสูง ควอนตัมดอตมีความสามารถในเลือกจับกับโมเลกุลในเชิงชีววิทยา เช่น เซลล์แบคทีเรียก่อโรคบางชนิด โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาวิธีการในการวิเคราะห์แบคทีเรียจนถึงระดับที่สามารถนับจำนวนแบคทีเรียได้ สามารถเก็บข้อมูลและตรวจวัดได้ตามระยะเวลาจริง ทั้งยังใช้เวลาในการประมวลผลสั้นกว่าวิธีการดั้งเดิม มีความไวและความสามารถในการเลือกตรวจจับสูง ซึ่งงานวิจัยนี้จะส่งผลให้มีอุปกรณ์ตรวจวัดด้านจุลินทรีย์ที่มีความรวดเร็ว และแม่นยำสูง อันจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหาร และการส่งออกอาหารของไทย เพื่อเป็นการทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้านอาหารก่อนที่จะมีการส่งออก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เป็นการเน้นย้ำว่า ประเทศไทยเป็นครัวของโลกอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น