จิ๊กกี้

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปักครอสติซเป็นของขวัญ




การปักครอสติชไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ ถ้ารู้เทคนิคและขั้นตอน ทางทีมงานจึงได้รวบรวมขั้นตอนและเทคนิคในการปักครอสติชมาให้เพื่อนนักปักมือใหม่ได้ศึกษากันก่อนค่ะ หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาในการปักครอสติชก็โพสต์มาถามกันที่กระดานข่าวได้นะคะ ทางทีมงานยินดีตอบทุกปัญหาค่ะ แต่หากมีกูรูหรือผู้เชี่ยวชาญงานฝีมือท่านใดผ่านมาจะตอบเพื่อเป็นวิทยาทานก็จะขอบพระคุณมากค่ะ คำถามที่โพสต์มา ทีมงานจะรวบรวมมาไว้ในบทความนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยค่ะ

สำหรับงานฝีมืออื่นๆ ทางทีมงานจะพยายามศึกษาและรวบรวมมาให้สมาชิกได้อ่านกันเรื่อยๆนะคะ

ขอให้ครอสติสได้เป็นส่วนหนึ่งจากสิ่งต่างๆ มากมายที่จะทำให้คุณมีความสุขตลอดไปค่ะ

การเตรียมผ้าปักครอสติช
1. นับจำนวนช่องลายที่ปักทั้งแนวตั้งและแนวนอน ตัวอย่างเช่น นับจำนวนช่องทั้งหมดในแบบปักได้ 160 x 200 (แนวนอนนับได้ 160 ช่อง แนวตั้งนับได้ 200 ช่อง)
2. หาจุดกึ่งกลางทั้งแนวตั้งและแนวนอนของแบบปัก (ซึ่งจะสังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่เป็นลูกศรในผังลายปัก) ตัวอย่างเช่น ในแบบปักเป็น 160 x 200 ช่อง จุดกึ่งกลางแนวนอนจะเป็นช่องปักที่ 80 และจุดกึ่งกลางแนวตั้งจะเป็น 100 จุดกึ่งกลางของลายปักจะอยู่ที่ 80 x 100 หรือบล็อคที่ 8 x 10
3. พับทบมุมผ้าทั้งสี่ด้าน เมื่อคลี่ออกจะเห็นรอยตัดกันบนผ้า นั่นคือ จุดกึ่งกลางของผ้า (ซึ่งเทียบได้กับจุดกึ่งกลางของลายปัก) ใช้สีเมจิกที่ซักออกได้จุดไว้ หรือใช้เข็มร้อยด้ายเนาแทงขึ้นมาคุณก็จะได้จุดกึ่งกลางของผ้าปัก

ในการปักแต่ละครั้ง ไหมหนึ่งเส้นจะแบ่งเป็นเส้นเล็กๆได้ 6 เส้น การปักไขว้ปกติจะใช้ไหมครั้งละ 2 เส้นเล็ก (แต่บางลายอาจจะระบุให้ปักไขว้โดยใช้ไหม 1 เส้นเล็กก็มีค่ะ แต่จะเป็นบางสีเท่านั้น ดังนั้นจึงควรดูคำแนะนำในการปักของแต่ละลายด้วยนะคะ) หากเป็นสัญลักษณ์ไหมผสมใช้สีละ 1 เส้นเล็ก ปักเดินเส้น จะใช้ครั้งละ 1 เส้นเล็ก (หรือตามที่ระบุในผังลาย)

วิธีปักครอสติชแบบต่างๆ

1.ปักไขว้แนวตั้ง

สัญลักษณ์ที่เรียงต่อกันเป็นแนวตั้งควรปักโดยเริ่มแทงเข็มที่ 1 แทงลงที่ 2 แทงขึ้นที่ 3 แทงลงที่ 4 และแทงขึ้นที่ 5 ไปเรื่อยๆ เมื่อสุดแถวแล้วปักย้อนกลับ เช่น เมื่อสุดแถวที่ตำแหน่งที่ 8 แทงเข็มขึ้นที่ 9 แทงลงที่ 6 แทงขึ้นที่ 7 ไปเรื่อยๆ

2.ปักไขว้แนวนอน

แทงเข็มขึ้นที่ตำแหน่งที่ 1 แทงลงที่ 2 แทงขึ้นที่ 3 และแทงลงที่ 4 ไปเรื่อยๆ จนหมดแถว เมื่อสุดแถวแล้วปักย้อนกลับ

3.ปักทางเดียว (half stitch)

การปักทางเดียวเพื่อให้ดูเป็นภาพจางๆเหมือนอยู่ไกล การปักเหมือนการปักไขว้เพียงแต่ไม่ต้องปักย้อนกลับ

4.การปัก 3/4 ช่อง

มักจะเป็นการปักบริเวณขอบภาพหรือบริเวณตา โดยเริ่มแทงเข็มขึ้นที่ 1 แทงลงที่ 2 และแทงลงที่ 4 ซึ่งตำแหน่งที่ 4 นี้จะไม่ตรงตามรูผ้าแต่จะเป็นกลางช่องผ้า

5.การปัก 1/4 ช่อง

มักจะเป็นการปักบริเวณขอบภาพหรือบริเวณตา หรือช่วงรอยต่อระหว่างสี 2 สี การปักให้แทงเข็มขึ้นที่ช่องผ้าตรงรูผ้า และแทงลงตรงกลางช่องผ้า

6.การปักเดินเส้น

โดยปกติจะใช้ไหมครั้งละ 1 เส้นเล็ก เป็นการปักที่เหมือนด้นถอยหลัง แต่ระยะของไหมปักจะไม่จำกัดว่าเป็นหนึ่งช่องผ้า ขึ้นอยู่กับว่าในแบบปักต้องการให้เส้นพาดไปถึงบริเวณใด หากเป็นแนวเส้นตรงไม่ควรปักแนวยาว ควรปักไปที่ละช่อง หรือสองช่องผ้าเพราะหากปักข้ามยาวเกินไป ไหมจะหย่อนได้ง่าย

7.การปักปมฝรั่งเศส

วิธีปักให้เริ่มแทงเข็มขึ้นจากด้านล่างของผ้าที่จุด A ใช้มือซ้ายยึดเส้นไหมไว้ วางเข็มลงเหนือเส้นไหมและพันไหมรอบเข็ม 3 ครั้งตามเข็มนาฬิกา มือซ้ายยังคงยึดเส้นไหมไว้ แล้วแทงเข็มลงให้ใกล้กับจุด A (แต่ไม่ใช่จุดเดิม) มือซ้ายยังคงยึดเส้นไหมอยู่เพื่อช่วยผ่อนไหม แล้วดึงเข็มกลับลงมาทางด้านหลังผ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น